[title]
ความมหัศจรรย์ของหนัง coming-of-age ของแบร์รี่ เจนกินส์ ที่ชื่อว่า Moonlight เกิดขึ้นบนโต๊ะอาหาร เราได้เห็นเด็กหนุ่มวันสิบขวบนามไชรอน ที่หวาดผวากับการโดนแกล้ง ถูกปลอบประโลมด้วยคำพูดที่ถูกที่ถูกทางจากผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เป็นพ่อเป็นแม่ (หนึ่งในนั้นยังเป็นคนที่ขายยาให้แม่แท้ๆของไชรอนอีกต่างหาก) แต่เป็นคนที่รู้ว่าจะต้องพูดอะไร อย่างไร และเมื่อไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามไชรอนถามว่า "ผมเป็นตุ๊ดหรอ?"
เจนกินส์ ผู้กำกับหนังโคตรจะอินดี้ที่แม้หนังยาวเรื่องแรกของเขา Medicine for Melancholy (2008) จะเคยจับประเด็นชีวิตคนดำที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน แต่ครั้งนี้ กับ Moonlight เจนกินส์ ได้ข้าวข้ามจุดนั้นไปอีก เล่าอีกประเด็นผ่านเรื่องราวที่ประหลาดและซับซ้อนขึ้นไปอีก ไม่ใช่แค่เลือกให้เหตุการณ์เกินขึ้นในย่านที่ไม่มีใครอยากจะเข้าไปของไมอามี เขายังเลือกที่จะจับประเด็นทางเพศที่ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่เราคุ้นเคยกัน ไม่ใช่ Brokeback Mountain แต่แปลกว่านั้น ใหม่กว่านั้น ถูกเล่าผ่านเรื่องราวที่ทำให้รู้สึกเหมือนทำนองเพลงของ Frank Ocean
สามช่วงของชีวิตตัวละครไชรอน คือ เด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ถูกเล่าผ่านสามตัวละคร Moonlight ดัดแปลงจากบทละครเวทีของ Tarell McCraney ที่เล่าเรื่องราวของชีวิตเขาเองในชื่อเรื่องว่า In Moonlight Black Boys Look Blue
นับสิบปีให้หลัง ไชรอนก็กลับมาที่โต๊ะอาหารอีกครั้ง คราวนี้กับเพื่อนรัก เพลงรัก และความไม่เข้ากันทั้งปวงที่โผล่มาทักทายตลอดทั้งเรื่อง แต่นั่นก็คือสาเหตุที่คุณควรจะเข้าไปดูด้วยตาของคุณเองในโรง