[title]
ท้องฟ้าจำลองฯ เปลี่ยนระบบฉายดาวใหม่ในรอบ 56 ปี จากเครื่องเดิมที่มีชื่อว่า 'มาร์ค โฟร์ (Mark IV)' ซึ่งเป็นเครื่องฉายดาวอันตั้งอยู่กลางห้อง ทำงานด้วยระบบกลไกมอเตอร์และเลนส์ เปลี่ยนมาเป็นเครื่องฉายระบบดิจิทัล ผ่านโปรเจ็กเตอร์เกรดเดียวกับที่หลายประเทศใช้ในโรงละคร หรือท้องฟ้าจำลองขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดเล็กลงและเบาขึ้นกว่าเดิม
เครื่องขนาดใหญ่ตรงกลางคือเครื่องฉาย มาร์ค โฟร์ (Mark IV) ซึ่งในอนาคตอาจถูกเคลื่อนย้
โดยเครื่องฉายดาวระบบเก่าที่หลายคนคุ้นหน้าตากัน เป็นเครื่องที่ใช้ระบบเครื่องกล ระบบไฟฟ้า และระบบแสงทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้ภาพดวงดาวที่คมชัดและสมจริง โดยท้องฟ้าจำลองฯ ใช้งานเครื่องนี้มาตั้งแต่การเปิดให้บริการครั้งแรก ก่อนตอนนี้จะเปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่เป็น เครื่องฉายระบบดิจิทัล ที่ฉายภาพด้วยโปรเจ็กเตอร์ 2 ตัว ที่ถูกติดตั้งไว้ข้างๆ เครื่องเดิม โดยข้อดีของระบบใหม่นี้คือ เราสามารถซูมดูดวงดาวได้ใกล้ๆ ขนาดที่เห็นถึงวงแหวนดาวเสาร์แบบเต็มตา หรือสามารถขยับหมุนดวงดาวได้ด้วย ซึ่งเครื่องฉายแบบเก่าจะไม่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้
นอกจากนี้ ระบบฉายดาวยังสามารถเลือกกล
และสำหรับใครที่ไม่เคยรู้มาก่อน ระบบการฉายดาวที่ท้องฟ้าจำลองฯ สามารถดูตำแหน่งดาวย้อนหลัง หรือในอนาคตล่วงหน้าได้ถึง 100,000 ปี อีกทั้ง การฉายดาวที่ให้ชมในแต่ละวันจะเป็นตำแหน่งดาวจริงๆ ที่จะปรากฎบนท้องฟ้าให้เราเห็นในวันนั้นด้วย ทำให้เราสามารถกลับไปนั่งดูดาวเองที่บ้านได้หลังจากชมวิธีการดูดาวจากท้องฟ้าแห่งนี้
แม้ระบบใหม่จะเป็นการใช้โปรเจ็กเตอร์ 2 ตัวทำงานร่วมกัน แต่ก็สามารถฉายภาพเต็มโดมได้เป็นภาพเดียวอย่างไร้รอยต่อ แถมไม่ติดส่วนบนของเครื่องฉายเก่าด้วย ทำให้เราสามารถชมดาวอย่างเต็มตาได้เช่นเดิมในรูปแบบใหม่ โดยตอนนี้การฉายดาวเปิดให้เข้าชมรอบละ 100 คนเท่านั้น ความยาวทั้งหมด 50 นาที แบ่งเป็นการสอนดูดาว 30 นาที และภาพยนตร์เต็มโดม 20 นาที
โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดให้บริการทุกวันอังคาร - อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สำหรับรอบการแสดงมี 3-5 รอบต่อวัน (สำหรับช่วงสถานการณ์โควิด) สามารถเช็ครอบเข้าชมได้ ที่นี่
ราคาบัตรเข้าชม
เด็ก: 20 บาท
ผู้ใหญ่: 30 บาท