[title]
ในระหว่างที่รอรัฐบาลบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 คนไทยก็ต้องเผชิญกับการระบาดอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นระลอกที่ 3 ทำให้ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่การระบาดระลอกแรกอยู่ที่ 48,113 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2564) เฉพาะระลอกใหม่ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นมา ยังไม่ทันจะครบเดือนก็พบผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสมแล้วเกือบสองหมื่นรายแล้ว ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในประเทศไทยนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในไทย
ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยวันละกว่า 1,000 คน สิ่งที่น่ากังวลก็คือเรื่องของการรองรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน ที่แน่นอนว่าต้องเกิดปัญหาเตียงผู้ป่วยไม่เพียงพออย่างเลี่ยงไม่ได้ และเพื่อจัดการปัญหานี้ การจัดตั้ง ‘โรงพยาบาลสนาม’ จึงเกิดขึ้นมากกว่า 30 แห่ง (และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) ทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มี 5 แห่งที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ แบ่งเป็นโรงพยาบาลสนามที่อยู่ในความดูแลของ กทม. 4 แห่ง รองรับผู้ป่วย จำนวน 1,700 เตียง ได้แก่
- โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน รองรับได้ 1,000 เตียง ครองเตียง 449 เตียง ยังว่างอยู่ 551 เตียง
- โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ รองรับได้ 200 เตียง ครองเตียง 185 เตียง ยังว่างอยู่ 15 เตียง
- โรงพยาบาลเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน) รองรับได้ 100 เตียง ครองเตียง 89 เตียง ยังว่างอยู่ 11 เตียง
- โรงพยาบาลเอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา) รองรับได้ 400 เตียง ยังไม่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา (อยู่ระหว่างตรวจสอบประวัติและสอบสวนโรค)
รวมผู้ป่วยครองเตียงในโรงพยาบาลสนามของ กทม. ทั้งหมด 723 เตียง และยังมีเตียงคงเหลือ 977 เตียง (ข้อมูล ณ วันที่ 21 เมษายน 2564) นอกจากนั้น ยังมีโรงพยาบาลสนามที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงกลาโหมอีก 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลสนาม กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 (ปตอ.1) ณ ถนนแจ้งวัฒนะ ที่รองรับผู้ป่วยได้ 200 เตียง
การดูแลผู้ป่วยและการดำเนินการต่างๆ ของโรงพยาบาลสนาม ก็จะเหมือนกับโรงพยาบาลทั่วไป แต่ต่างกันตรงพื้นที่ที่กว้างขวางกว่า สามารถรองรับผู้ป่วยได้หลายร้อยเตียงบนพื้นที่เดียวกัน และต้องมีความปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ทั้งระบบตัวอาคาร ระบบจัดการน้ำเสีย การจัดการอากาศ ดูทิศทางการไหลของอากาศ มีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีการจัดโซนนิ่งให้ห่างจากพื้นที่ชุมชน ภายใต้มาตรฐานทางการแพทย์
In Pictures ขอพาไปสำรวจสภาพโรงพยาบาลสนาม 2 แห่งในกรุงเทพฯ คือ โรงพยาบาลเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน) และโรงพยาบาลเอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา) ว่าถ้าจำเป็นต้องไปอยู่จริงๆ จะโอเคไหม
โรงพยาบาลเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน)
![โรงพยาบาลสนาม เอราวัณ 1](https://media.timeout.com/images/105768039/image.jpg)
![โรงพยาบาลสนาม เอราวัณ 1](https://media.timeout.com/images/105768038/image.jpg)
![โรงพยาบาลเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน)](https://media.timeout.com/images/105768051/image.jpg)
![โรงพยาบาลเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน)](https://media.timeout.com/images/105768052/image.jpg)
![โรงพยาบาลเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน)](https://media.timeout.com/images/105768053/image.jpg)
![โรงพยาบาลเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน)](https://media.timeout.com/images/105768055/image.jpg)
โรงพยาบาลเอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา)
![โรงพยาบาลเอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา)](https://media.timeout.com/images/105768057/image.jpg)
![โรงพยาบาลเอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา)](https://media.timeout.com/images/105768060/image.jpg)
![โรงพยาบาลสนาม เอราวัณ 2](https://media.timeout.com/images/105768040/image.jpg)
![โรงพยาบาลเอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา)](https://media.timeout.com/images/105768063/image.jpg)
![โรงพยาบาลสนาม เอราวัณ 2](https://media.timeout.com/images/105768043/image.jpg)
![โรงพยาบาลเอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา)](https://media.timeout.com/images/105768065/image.jpg)
ภาพ: กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์