แม้ว่าจะเสียตำแหน่งตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยให้กับตึก Magnolias Waterfront Residences ที่สูงกว่าเพียง 4 เมตร แต่ด้วยความสูงถึง 314 เมตรก็ทำให้ King Power Mahanakhon เป็นตึกที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ด้วยการออกแบบภายนอกให้ตัวอาคารเสมือนถูกโอบล้อมด้วยริบบิ้นสามมิติ ซึ่งเป็นผลงานของสถาปนิกสถาปนิกชาวเยอรมัน Ole Scheeren ตึกสูงแห่งนี้เป็นที่ตั้งของ Ritz-Carlton Residences คอนโดหรู สูง 77 ชั้น จำนวน 200 ยูนิต รวมถึงโรงแรม Orient Express และมีจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นร้านอาหารสูงเฉียดฟ้าอย่าง Mahanakhon Bangkok SkyBar และจุดชมวิวที่สูงที่สุดในประเทศไทย
เป็นที่รู้กันดีว่าในย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนที่ผสมผสานระหว่างโครงสร้างไทยแบบดั้งเดิมและตึกที่ได้แรงบันดาลใจมาจากฝั่งยุโรป แต่ถ้าถามผู้ที่ชื่นชอบในงานสถาปัตยกรรมแล้วล่ะก็ จะรู้ทันทีว่าสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ มีอะไรที่น่าสนใจมากกว่านั้นเยอะ เพราะมีความหลากหลายทางสถาปัตยกรรมให้เห็นตั้งแต่ยุคนีโอคลาสสิก ไปจนถึงสมัยใหม่ และหลังสมัยใหม่
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เข้ามาในประเทศไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พร้อมกับเหล่าสถาปนิกชาวไทยที่เดินทางกลับแผ่นดินแม่หลังจากไปใช้ชีวิตและศึกษาต่อที่อเมริกาเป็นเวลาหลายปี ช่วงนั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สถาปนิกเหล่านี้มีโอกาสสร้างผลงานชิ้นเอกของพวกเขาที่มีให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ เช่น โรงแรมอินทรารีเจนท์, โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ แบงค็อก สีลม, อาคารสเตททาวเวอร์ และอาคารหุ่นยนต์ ล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปีที่รุ่งเรืองของเศรษฐกิจไทยทั้งหมด
น่าเศร้าที่วิกฤตต้มยำกุ้งในปี พ.ศ.2540 ทำให้ทุกอย่างต้องถึงจุดจบ กระทั่งไม่ถึงทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้น ยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองของสิ่งก่อสร้างในบ้านเมืองก็กลับมาอีกครั้ง เราจึงได้เห็นสถาปัตยกรรมยุคหลังสมัยใหม่ ผุดขึ้นในกรุงเทพฯ เช่น ตึกเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่, ตึกคิงพาวเวอร์ มหานคร และโรงแรมโรสวูด กรุงเทพฯ
นี่แค่ตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากลองใช้เวลาออกไปเดินถือกล้องสำรวจรอบๆ ย่านที่ตัวเองคุ้นเคยหรือแค่เงยหน้าขึ้นมองสิ่งต่างๆ รอบตัวระหว่างที่รถติด ก็จะรู้ว่ากรุงเทพฯ นี่แหละคือแหล่งรวมตึกสวย สถาปัตยกรรมเด่นที่น่าเดินเที่ยวอีกเมืองหนึ่ง