The Purification น้ำสรงพระมุรธาภิเษก
Open Educational Resources
Open Educational Resources

พิธีสรงพระมุรธาภิเษก

พิธีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนพระราชสถานะสู่ความเป็นพระมหากษัตริย์

การโฆษณา

การสรงพระมุรธาภิเษก เกิดขึ้นจากความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ว่าการอาบน้ำมิได้เป็นเพียงการชำระล้างร่างกายให้สะอาด แต่ยังสามารถชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ช่วยเสริมสิริมงคลกับชีวิต โดยคำว่า มุรธาภิเษก นั้นแปลว่า การรดน้ำที่พระเศียร ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนพระราชสถานะสู่ความเป็นพระมหากษัตริย์

น้ำสรงพระมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากแหล่งน้ำสำคัญบรรจุในทุ้งสหัสธารา (ไขฝักบัว) เดิมทีจะใช้น้ำจากแหล่งน้ำสำคัญของประเทศไทย จนในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (รัชกาลที่ 5) ได้มีการเพิ่มน้ำจากแม่ใหญ่ 5 สายของอินเดีย ได้แก่ คงคา ยมนา มหี [มะ-ฮี] อจิรวดี และสรภู ที่เชื่อกันว่าไหลมาจากเขาไกรลาสซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร ซึ่งเรียกว่า ปัญจมหานที เจือน้ำเบญจสุทธคงคา (แม่น้ำสำคัญทั้งห้าของไทย) น้ำสี่สระในจังหวัดสุพรรณบุรี (สระแก้ว สระคา สระยมนา และสระเกษ) เจือน้ำอภิเษก และเจือน้ำพระพุทธปริตรที่ได้ทำพิธีเตรียมไว้


ภาพ: วัดพระแก้ว สถานที่เก็บรักษาน้ำสรงพระมุรธาภิเษก

การสรงพระมุรธาภิเษก จะประกอบที่มณฑปพระกระยาสนาน โดยพระมหากษัตริย์จะประดิษฐานบริเวณชาลารอยต่อพระที่นั่งไพศาลทักษิณ กับ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ระหว่างทรงสรงพระมุรธาภิเษก จะมีการประโคมสังข์ แตร มโหระทึก และเครื่องดุริยางค์ ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารปืนใหญ่ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักร มหาปราบยุค จำนวน 10 นัด เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ 


ภาพ: พิธีสรงพระมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)

เรื่องเด่น
    การโฆษณา